ห่วงโซ่อุตสาหกรรมบรรเทาปัญหาความยากจน

09 พฤษภาคม 2566

Lanzhou Chia Tai Food Co.,Ltd.
“ยกระดับการเกษตรในรูปแบบห่วงโซ่อุตสาหกรรม เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรกว่า 18,000 บาท/ปี”

ประเทศจีนโดยท่านประธานาธิบดี สีจิ้นผิงตั้งเป้าขจัดความยากจนของประชากรในประเทศจะต้องได้รับการแก้ไข มณฑลกานซู่เป็นจังหวัดที่ประชากรมีความยากจนลำดับต้นๆในประเทศ เขตพื้นที่ ชิงหยาง เป็นพื้นที่หลักสำหรับการเริ่มต้นโมเดลการบรรเทาความยากจนในจังหวัดกานซู่ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนดังกล่าวจึงนำรูปแบบและวางแผนปรับใช้การเกษตรรูปแบบใหม่ (เกษตร 4.0) ในอุตสาหกรรมเกษตรที่ครอบคลุมในพื้นที่ Qingyang ผ่านการส่งเสริมเชิงลึกในโครงการห่วงโซ่อุตสาหกรรมสุกร ยกระดับการเกษตรในท้องถิ่น เพื่อให้ทุกเขตการปกครอง ทุกหมู่บ้านและทุกครัวเรือนที่ยากจนมีอุตสาหกรรมที่มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูให้เกษตรกรมีงาน มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคง

ดำเนินการในรูปแบบห่วงโซ่อุตสาหกรรม ต้นน้ำจนปลายน้ำ โดยความร่วมมือของรัฐบาลเขตชิงหยาง จัดตั้งสหกรณ์ชาวนาและกำหนดสมาชิกที่เข้าร่วม ในส่วนของ CP รับผิดชอบในการก่อสร้างและการเช่าที่ดินจากเกษตรกร ด้วยการสร้างฟาร์มสุกรที่ได้มาตรฐานขนาด 500,000 ตัว โรงงานอาหารสัตว์ 200,000 ตัน โรงแปรรูปอาหาร โรงงานปุ๋ยอินทรีย์และเครือข่ายค้าปลีก ในส่วนการเพาะปลูก เกษตรกรมีส่วนร่วมในการผลิตและการดำเนินงานของอุตสาหกรรมการเกษตรสมัยใหม่และซีพีรับความเสี่ยงด้านตลาด

จากการดำเนินโครงการ มีเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพใหม่จำนวนมากได้กลายเป็นผู้นำในการฟื้นฟูชนบท เกษตรกรที่ยากจนจำนวน 7,300 ครัวเรือนในเขตชิงหยางได้รับการปลดแอกจากความยากจน โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้น 3,600 หยวน มีเงินปันผลจากสหกรณ์ และและท้ายที่สุดฟาร์มมาตรฐานเหล่านนั้นกลายเป็นสินทรัพย์ถาวรของเกษตรกร