น้ำพางโมเดล “บทพิสูจน์ความยั่งยืน จากความร่วมมือภาคประชาชน”
บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
“ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ป่า ด้วยเกษตรผสมผสาน สร้างรายได้ให้ชุมชนกว่า 300,000 บาท/ปี”
จากนโยบายทวงคืนผืนป่าคำสั่ง ที่ คสช. ที่ 64 และ 66/2557 เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าให้มีสัดส่วนร้อยละ 40 ของประเทศ ตำบลน้ำพางเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมาย มีป่าถึง 90.91% ของพื้นที่ มีพื้นที่ทำกินแค่ 7% ของพื้นที่ จนเกิดคดีอาญา 103 ไร่ 120 ครัวเรือน ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบรวมตัวกันเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์บูรณาการจัดการที่ดินและทรัพยากรอย่างยั่งยืนโดยชุมชนเกิดโครงการ “น้ำพางโมเดล” เพื่อชุมชนสามารถกำหนดขอบเขต ป้องกันการบุกรุกเพิ่ม รักษาป่าให้คงสภาพ และสร้างระบบนิเวศน์ป่าใหม่ ปรับเปลี่ยนจากพืชเชิงเดี่ยว สู่เกษตรผสมผสาน และเป็นต้นแบบ ที่คนสามรถอยู่ร่วมกับป่า และต้นแบบการร่วมบูรณาการระหว่าง ภาคประชาชน ประชาสังคม ภาครัฐ และเอกชน
โดยการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาน้ำพางโมเดล 5 ด้านคือ
- พัฒนายุทธศาสตร์บูรณาการจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่น น้ำพางโมเดล
- พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ จัดตั้งศูนย์สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ระดับตำบล จัดทำชุดนิทรรศการแผนที่กำหนดขอบเขตพื้นที่ระดับชุมชน
- พัฒนาการฟื้นฟูและปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตไปสู่การพัฒนาอาชีพยกระดับคุณภาพชีวิต เวทีจัดทำความเข้าใจ กำหนดแผนการปลูกพืชทดแทน ในแนวคิดการลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดไม่น้อยกว่าปีละ 20% ต่อราย จัดสร้างโรงเพาะชำประจำหมู่บ้าน สนับสนุนกล้าพันธุ์ไม้ป่าเพื่อปลูกป่าเสริม
- การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการปลูกพืชผสมผสานทดแทนพืชเชิงเดี่ยว การทำแนวกันไฟและป้องกันไฟป่า สนับสนุนกิจกรรมเดินตรวจป่า จัดทำและซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ
- จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรตำบลน้ำพาง “ เพื่อรองรับผลผลิตจากการส่งเสริมของน้ำพางโมเดล ให้เกษตรกรเข้าถึงการตลาดที่เป็นธรรม ”
ส่งผลให้เกิดการจัดตั้งศูนย์ GIS ระดับตำบล จัดทำแผนที่รายแปลงของเกษตรกร เพื่อเฝ้าระวังการบุกรุกป่า สามารถคงสภาพป่าเดิมและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในโครงการได้ 2,767 ไร่ เกษตรกรเกิดรายได้จากการขายกาแฟโรบัสต้า และมะม่วงหิมพานต์รวม 252,326 บาท เกิดเป็นวิสาหกิจฯแปรรูปผลผลิตสร้างรายได้กว่า 325,024 บาท และเป็นพื้นที่ศึกษาดูงานเผยแพร่กระบวนและเป็นกรณีศึกษา