การนำน้ำที่ผ่านการเลี้ยงกุ้ง หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่

18 พฤษภาคม 2565

ที่มาของโครงการ:

การเลี้ยงกุ้งขาวปัจจุบันเป็นการเลี้ยงแบบบ่อกลางแจ้งจึงทำให้ ไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้งได้ตลอด ทั้งปี ปริมาณนํ้าที่ใช้ในการผลิตกุ้งสูงเนื่องจากต้องใช้เปลี่ยนถ่ายนํ้า ระหว่างการเลี้ยงกุ้ง เพื่อกำจัดแอมโมเนียและไนไตรท์ ที่เป็นของเสีย จากการเลี้ยงกุ้ง และอีกปัญหาที่สำคัญคือพื้นที่การเลี้ยงกุ้งที่มีอยู่ อย่างจำกัด ไม่สามารถขยายพื้นที่ในการเลี้ยงเพิ่มได้เนื่องจากจะส่งผลต่อ สภาพแวดล้อมและป่าชายเลนซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญ

การดำเนินงาน:

ธุรกิจเลี้ยงสัตว์น้ำประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งในโรงเรือนปิด แบบอิสราเอลซึ่งสามารถป้องกันโรคและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม กับการเลี้ยงกุ้งได้ตลอดทั้งปี โดยใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งด้วยระบบ ไบโอฟลอคเพื่อบำบัดของเสียภายในนํ้าระหว่างการเลี้ยงกุ้งทำให้ ปริมาณนํ้าที่ใช้ในการผลิตกุ้งตํ่ากว่าการเลี้ยงกุ้งในบ่อกลางแจ้ง

เทคโนโลยีการบำบัดน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งด้วยระบบไบโอฟลอค ทดแทนการเปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อลดของเสียจากตัวกุ้งจากอาหาร ซึ่งจะ อยู่ในรูปของแอมโมเนียและไนไตรท์ การนำเอาระบบไบโอฟลอคโดย ใช้จุลินทรีย์บำบัดเป็นหัวเชื้อตั้งต้นเข้ามาใช้กับกระบวนการเลี้ยงกุ้ง จึงสามารถรองรับการผลิตได้ที่ 13–14 ตัน/ไร่/รุ่น ใช้นํ้าในการผลิต เพียง 700 ลิตร/การผลิตกุ้ง 1 กิโลกรัม โดยไม่มีการเสียหายของกุ้ง จากพิษของค่าแอมโมเนียและไนไตรท์ระหว่างการเลี้ยง ในขณะที่การ เลี้ยงกุ้งโดยทั่วไปใช้นํ้า 5,000–9,000 ลิตร/การผลิตกุ้ง 1 กิโลกรัม

ในกระบวนการกระตุ้นระบบไบโอฟลอคในบ่อกุ้งนั้น ได้นำเอาผลิตภัณฑ์ จุลินทรีย์บำ บัดมาเป็นหัวเชื้อตั้งต้นในการกระตุ้นระบบไบโอฟลอค โดยใช้เวลาเพียง 10–20 วัน ระบบก็จะสามารถบำ บัดสารละลาย ไนโตรเจนได้ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นใหม่โดยอยู่ระหว่างดำเนินการ ขอรับอนุสิทธิบัตรกระบวนการกระตุ้นจุลินทรีย์บำบัดสารละลาย ไนโตรเจนสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ