โครงการผลิตสุกรและปลูกพืชครบวงจร เขตมองโกเลียใน
ที่มาของโครงการ:
เนื่องด้วยสาธารณรัฐประชาชนจีนได้มีนโยบายที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ห่างไกลด้วยวิธีการสนับสนุนการเกษตรและปศุสัตว์ให้มีความยั่งยืน ผนวกกับในปัจจุบัน พื้นที่ฟาร์มสุกรเริ่มมีการย้ายขึ้นไปทางเหนือสู่เขตมองโกเลียใน (Inner Mongolia) ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศจีน นอกจากนี้ กระทรวงการเกษตรของประเทศจีนยังมีนโยบายสนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะปลูกผลิตผลทางการเกษตร และมีการเก็บภาษีสำหรับการปศุสัตว์แบบดั้งเดิมมากขึ้น ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์จึงได้เริ่มโครงการโรงงานผลิตเนื้อสุการแปรรูปในเขตมองโกเลียใน โดยตั้งเป้าในการผลิตเนื้อสุกรที่ 1 ล้านตัวต่อปี ในช่วงทดลองระหว่างปี 2559–2553 เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลจีน
การดำเนินงาน:
ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์ยึดหลักของความยั่งยืนในการพัฒนาโครงการ จึงดำเนินโครงการในรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนระบบปิด เป็นการทำให้ระบบเศรษฐกิจไม่มีขยะ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยพลังงานหมุนเวียน การให้ความสำคัญต่อประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต และการที่ราคาสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง โดยเมื่อวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต (Manufacturing) และกระจายไปยังผู้บริโภคแล้ว (Distribution) สิ่งที่เหลือจากการบริโภค (Use and Disposal) จะถูกนำกลับไปจัดสรรใหม่ (Reuse / Redistribution) หรือนำกลับสู่กระบวนการผลิตอีกครั้ง (Re-manufacturing / Recycle) เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ทรัพยากรธรรมชาติ ฟื้นฟูระบบนิเวศ ลดผลกระทบเชิงลบ และเพิ่มผลกระทบเชิงบวกต่อระบบเศรษฐกิจ
ผลลัพธ์และผลประโยชน์ที่ได้รับ:
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 61,000 ตัน CO2e มีการสร้างโรงงานผลิตเนื้อหมู และพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดขึ้นในปี 2560 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีกับประเทศ กล่าวคือมีกระบวนการผลิตที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและยกระดับอาหารปลอดภัย นอกจากนี้ ยังส่งผลดีกับระบบเศรษฐกิจ ช่วยให้เกษตรกรท้องถิ่นมีงานทำ