เป้าหมายและผลการดำเนินงาน

รากฐานของการกำกับดูแลกิจการที่มั่นคงจะส่งเสริมให้เครือเจริญโภคภัณฑ์สามารถกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจและความมุ่งมั่นของเราในการสร้างคุณค่าระยะยาวให้กับประเทศที่เราดำเนินธุรกิจ ผู้คน และพนักงานของเรา ด้วยเหตุนี้ เครือฯ จึงกำหนดให้หน่วยธุรกิจทั้งหมดปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างระมัดระวัง รวมถึงมาตรฐานของเครือฯ

ทุกกลุ่มธุรกิจได้รับการประเมินผลที่ได้รับการยอมรับของการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการ

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

การดำเนินงานของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีมีส่วนช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของ Sustainable Development Goals จำนวน 2 เป้าหมายด้วยกัน


สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Sustainable Development Goals Report 2023

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

เครือเจริญโภคภัณฑ์ดำเนินการประเมินและจัดลำดับความสำคัญผู้มีส่วนได้เสียเป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินผลกระทบที่เรามีต่อผู้มีส่วนได้เสีย และประเด็นใดที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญและจะมีอิทธิพลต่อกลยุทธ์และการดำเนินการของเราเมื่อเวลาผ่านไป ในปี 2565 ผลการประเมินพบว่าผลงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีสร้างผลกระทบโดยตรงต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 11 กลุ่ม


สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Stakeholder Engagement Report 2023

Our Impact by the Numbers

เครือฯ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีการดำเนินงานด้านจริยธรรมที่โดดเด่นที่สุดในโลกต่อเนื่องเป็นปีที่

ร้อยละ

ของผู้บริหารและพนักงานได้รับการอบรมด้านจรรยาบรรณธุรกิจ

ร้อยละ

ของผู้บริหารและพนักงานได้เข้าร่วมการอบรมในหัวข้อการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร

ร้อยละ

ของกลุ่มธุรกิจได้รับการตรวจสอบในเรื่องความโปร่งใสและความเป็นธรรม

  • จรรยาบรรณธุรกิจ
  • นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลผระโยชน์
  • นโยบายและแนวปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
  • นโยบายและแนวปฏิบัติการให้ รับของขวัญหรือผลประโยชน์อื่นใด
  • นโยบายและแนวปฏิบัติการป้องกันการฟอกเงิน
  • นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการแจ้งเบาะแส
  • นโยบายและแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

แนวทางการบริหารจัดการด้านการกำกับดูแล

เครือเจริญโภคภัณฑ์ยึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกิจการในการดำเนินธุรกิจของเรา นอกจากนี้เรายังปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกรายอย่างเท่าเทียม ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราดำเนินการอย่างโปร่งใสผ่านความรับผิดชอบต่อหลักการกำกับดูแลกิจการ และได้บูรณาการเข้ากับการดำเนินธุรกิจของเราอย่างเคร่งครัด

หลักการการกำกับดูแลกิจการเปรียบเสมือนพื้นฐานสำหรับคณะกรรมการบริษัทในการกำกับดูแลธุรกิจ เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามีการเคารพสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม พร้อมทั้งมีการควบคุมและบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจสูงสุด การดำเนินงานทั้งหมดนี้ ช่วยเพิ่มมูลค่าและการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศชาติ สังคม และเครือเจริญโภคภัณฑ์

เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้กำหนดกระบวนการทำงาน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การประสานการดำเนินงานร่วมกับตัวจากบริษัทในเครือฯ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าแนวทางการดำเนินงานของเราเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการดำเนินงานนั้นเป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติในระดับเครือฯ ซึ่งกลไกการกำกับดูแลกิจการของเครือฯ ประกอบไปด้วย การจัดตั้งโครงสร้างการกำกับดูแล โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องคณะต่าง ๆ ขึ้นมากำกับดูแลกิจการ การกำหนดแนวทางการดำเนินงาน การสื่อสารและการสร้างการมีส่วนร่วม การติดตามและการรายงานผลการดำเนินงาน ตลอดจนการเปิดเผยผลการดำเนินงาน

ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

คณะกรรมการบริษัทของเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้อนุมัติจัดตั้งคณะกรรมการบริหารความยั่งยืน ซึ่งมีคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นประธานของคณะกรรมการบริหารความยั่งยืน นอกจากนี้ ในปี 2566 ดร. ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กรและการพัฒนากลยุทธ์ เพื่อช่วยในการจัดการและกำกับดูแลการดำเนินการตามนโยบายและการดำเนินการด้านความยั่งยืนในระดับเครือฯ บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนประกอบด้วยการกำกับดูแลและกำหนดนโยบายและเป้าหมายด้านความยั่งยืนเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับผู้มีส่วนได้เสีย กำหนดกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ขับเคลื่อนการดำเนินการด้านความยั่งยืน รวมถึงจัดการและติดตามการดำเนินงานด้านความยั่งยืนทั่วทั้งกลุ่ม

เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานตามเป้าหมายสู่ความยั่งยืนเครือฯ ปี 2573 ทั้ง 15 เป้าหมายได้รับการดำเนินการอย่างเป็นระบบทั่วทั้งกลุ่ม เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รวมเป้าหมายดังกล่าวให้เป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารตามขอบเขตความรับผิดชอบ ผลของการประเมินจะถูกสะท้อนในรุปแบบการกำหนดค่าตอบแทนประจำปี ซึ่งผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารจะถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการบริหารตามด้งยคณะกรรมการบริษัทตามลำดับ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสของกระบวนการประเมินผลและกำหนดค่าตอบแทน ลำดับชั้นการอนุมัตินี้เหมือนกับสายการรายงานของกิจกรรมด้านความยั่งยืน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างความยั่งยืน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ โครงสร้างการกำกับดูแลความยั่งยืน

เป้าหมายและกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน หน้าที่ความรับผิดชอบ
ประธานคณะผู้บริหาร เครือฯ ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กร ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน ผู้บริหาร / ผู้จัดการของหน่วยธุรกิจ พนักงาน
การกำกับดูแลกิจการ
สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน
การศึกษาและการลดความเหลื่อมล้ำ
การพัฒนาผู้นำและทรัพยากรบุคคล
ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการปกป้องข้อมูล
สุขภาพและสุขภาวะที่ดี
คุณค่าและการสร้างประโยชน์ ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม
ความมั่นคงทางอาหารและการเข้าถึงโภชนาการ
การบริหารจัดการนวัตกรรม
การสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย
การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
การปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ
...
หน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเต็มที่
...
หน้าที่ความรับผิดชอบตามขอบเขตหน้าที่

การบริหารจัดการความเสี่ยง

เครือเจริญโภคภัณฑ์ยึดมั่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยง โดยได้นำระบบการบริหารงานแบบบูรณาการด้านการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยงและการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ หรือ Integrated Governance, Risk Management and Compliance: Integrated GRC เข้ามาใช้ นอกจากนี้ เครือฯ ยังได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กรตามมาตรฐานสากลของ Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) เพื่อให้มั่นใจถึงการปรับปรุงและความยืดหยุ่นของเครือฯ ในการจัดการความเสี่ยงที่ตอบสนองความต้องการของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป

การสร้างวัฒนธรรมการจัดการความเสี่ยง

เพื่อให้เครือเจริญโภคภัณฑ์สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนของการดำเนินธุรกิจ เครือฯ จึงได้ให้ความสำคัญในการเสริมสร้างวัฒนธรรมการจัดการความเสี่ยงให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร โดยมีแนวทางดังนี้ การประกาศใช้นโยบายและแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ การทบทวนโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงให้มีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่มากยิ่งขึ้น การสื่อสารและการอบรมด้านความเสี่ยง และการเผยแพร่ความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยง นอกจากนี้ เครือฯ ยังมีระบบการตรวจสอบภายในที่เข้มงวดเพื่อให้มั่นใจถึงการปฏิบัติตามโปรแกรมการจัดการความเสี่ยงอย่างเคร่งครัด โดยกระบวนการตรวจสอบภายในนี้จะทบทวนและติดตามความสอดคล้องกับนโยบายการจัดการความเสี่ยงที่จัดตั้งขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ระบุพื้นที่ที่ต้องการการปรับปรุง และมั่นใจว่ามีการดำเนินการแก้ไขทันทีเพื่อบรรเทาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

เจริญโภคภัณฑ์มีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานทุกระดับเอาใจใส่ต่องานประจำวันและตระหนักถึงกฎการบริหารความเสี่ยงของเครือฯ เครือฯ จึงได้มีการนำประเด็นด้านการบริหารความเสี่ยงเป็นหนึ่งในเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

การอบรมด้านความเสี่ยง

เครือเจริญโภคภัณฑ์จัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านความเสี่ยงให้แก่ผู้บริหารและพนักงานเป็นประจำ เพื่อปลูกฝังความเข้าใจและการปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งนำไปสู่การป้องกันการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบต่างๆ ของรัฐบาลและของเครือฯ

  1. หลักสูตรประสิทธิภาพของการควบคุมความเสี่ยง หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นสำหรับผู้บริหารและหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจของผู้บริหารและพนักงานเกี่ยวกับมาตรการควบคุมความเสี่ยง และสามารถนำแนวทางและวิธีการติดตาม วัดผล และประเมินมาตรการบริหารความเสี่ยงของกิจการได้
  2. การบริหารความเสี่่ยงของเครือฯ และการประเมินความเสี่ยงองค์กร หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านการบริหารความเสี่่ยง ความเข้าใจตามบทบาทหน้าที่่ในการกำกับดููแลงานบริหารความเสี่ยงองค์กร โดยหัวข้อของการอบรม ได้แก่ ประสิทธิภาพของการควบคุมความเสี่่ยง ซึ่งจัดขึ้นสำหรับผู้บริหารและหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจของผู้บริหารและพนักงานเกี่ยวกับมาตรการควบคุมความเสี่ยง

การวิเคราะห์ความเสี่ยงใหม่

เครือเจริญโภคภัณฑ์ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการดำเนินงานอย่างยั่งยืน เครือฯ ได้นำวิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างครอบคลุมมาใช้ โดยพิจารณาจากหลายมุมมอง รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งหมดของเครือฯ คู่ค้า และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด นอกจากนี้ ยังได้วิเคราะห์ผลกระทบในช่วงเวลาต่างๆ เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบที่เหมาะสม

การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้กำหนดหลักการดำเนินงานและการประพฤติปฏิบัติที่ดีไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจ ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งได้ส่งมอบให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับได้รับทราบ ทำความเข้าใจ และยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินงาน

จรรยาบรรณธุรกิจ

กระบวนการระบุความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

การจัดทำโปรไฟล์ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ: การประเมินทั้งความเป็นไปได้และความรุนแรงของการไม่ปฏิบัติตาม มีการประเมินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของการปฏิบัติตามและกำหนดมาตรการ

การอบรมด้านการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ประเภทของการสื่อสารที่เหมาะสมจะถูกเลือกโดยพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา และวัตถุประสงค์ตามแผนการสื่อสารและการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ ยังมีช่องทางการให้คำปรึกษาเพื่อชี้แจงข้อสงสัยต่าง ๆ ซึ่งประเด็นหรือปัญหาที่ได้รับจะถูกนำไปใช้ เพื่อปรับปรุงกระบวนการสื่อสารต่อไป

การมีส่วนร่วมของพนักงานในการพัฒนาการปฏิบัติตามกฎระเบียบ: เครือฯ ได้ใช้ผลการสำรวจการรับรู้ของพนักงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน ตลอดจนการฝึกอบรมและการสื่อสาร เครือฯ ได้นำผลการสำรวจมาวางแผนปรับปรุงการรับทราบของพนักงาน ดังนี้

  • การพัฒนาจิตสำนึกในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
  • การสร้างความตระหนักในการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน
  • การสร้างความตระหนักในการเข้าถึงจรรยาบรรณ นโยบาย แนวปฏิบัติ และระเบียบปฏิบัติ

การรับเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแส

เครือเจริญโภคภัณฑ์มีนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการแจ้งเบาะแส เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ ทั้งจากบุคคลภายในและภายนอกที่ได้รับผลกระทบ หรือมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของเครือฯ นอกจากนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจน สุจริต และโปร่งใส เครือฯ ได้กำหนดให้แนวปฎิบัติมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส/ผู้ร้องเรียน กระบวนการสอบสวน และบทลงโทษ นอกจากนี้ เครือฯ ยังได้รวมแนวปฏิบัติที่ระบุไว้ในหลักจรรยาบรรณ นโยบายและแนวปฏิบัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ในกฎหมาย กฎเกณฑ์ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ในเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ผลการปฏิบัติตามกฎระเบียบไม่เพียงแต่เชื่อมโยงกับค่าตอบแทนประจำปีของพนักงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโอกาสในการเติบโตในอาชีพอีกด้วย

จำนวนเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำผิดของพนักงาน และมาตรการในการจัดการ สำหรับปี 2566

2566 มาตรการในการจัดการ
กรณีร้องเรียน อยู่ระหว่างการสืบสวน เสร็จสิ้น ตักเตือนด้วยวาจา ตักเดือนด้วยลายลักษณ์อักษร พักงาน เลิกจ้าง
ข้อร้องเรียนด้านจรรยาบรรณ และจริยธรรม (กรณี)
ฉ้อโกง 2 - 2 - - 1 1
ผลประโยชน์ทับซ้อน 2 - 2 - 1 - 1
การไม่ดำเนินงานตามกฎระเบียบ 5 - 5 5 - - -
การเลือกปฏิบัติ 3 - 3 3 - - -
การล่วงละเมิด 3 - 3 2 - - 1
คอร์รัปชั่น 1 - 1 - 1 - -
การซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายใน - - - - - - -
การต่อต้านการแข่งขัน - - - - - - -
ข้อร้องเรียนด้านความปลอดภัยของข้อมูล (กรณี)
การละเมิดความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า - - - - - - -
รวม (กรณี) 16 0 16 10 2 1 3

หมายเหตุ: เป็นจำนวนข้อร้องเรียนเฉพาะที่ได้รับผ่านช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนสำหรับผู้มีส่วนได้เสียบนเว็บไซต์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ https://grc.cpgroupsustainability.com

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ข้อมูลการละเมิด จรรยาบรรณ และจริยธรรม ปี 2566