การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ
เป้าหมายและผลการดำเนินงาน
เครือเจริญโภคภัณฑ์มุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีความรับผิดชอบ เป้าหมายของเราคือการรับรองความโปร่งใส ความยั่งยืน และมีหลักปฏิบัติทางจริยธรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือที่แข็งแกร่ง การยึดมั่นในมาตรฐานที่เข้มงวด และการจัดลำดับความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เรามุ่งมั่นที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนที่เรามีการดำเนินงานและโลกที่เราอยู่ร่วมกัน
การตรวจประเมินด้านความยั่งยืนกับคู่ค้าที่มีความสำคัญ*
Remark : * ปี 2566 มีการขยายขอบเขตให้ครอบคลุุมถึงความเสี่ยงทางธุุรกิจและ ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การดำเนินงานของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบมีส่วนช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของ Sustainable Development Goals จำนวน 6 เป้าหมายด้วยกัน
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Sustainable Development Goals Report 2023
Stakeholders Directly Impacted
เครือเจริญโภคภัณฑ์ดำเนินการประเมินและจัดลำดับความสำคัญผู้มีส่วนได้เสียเป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินผลกระทบที่เรามีต่อผู้มีส่วนได้เสีย และประเด็นใดที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญและจะมีอิทธิพลต่อกลยุทธ์และการดำเนินการของเราเมื่อเวลาผ่านไป ในปี 2565 ผลการประเมินพบว่าความมุ่งมั่นของเราในการส่งเสริมความร่วมมือที่แข็งแกร่ง การปฏิบัติตามมาตรฐานที่เข้มงวด และการจัดลำดับความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม สร้างผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสี่กลุ่ม
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Stakeholder Engagement Report 2023
แนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ
เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้บูรณาการประเด็นด้านความยั่งยืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดหา และดำเนินการภายใต้กรอบดำเนินงานการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ (Responsible Supply Chain Management Framework) ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ คู่ค้าธุรกิจปฏิบัติตามคู่มือจรรยาบรรณของเครือฯ ที่ได้จัดทำไว้เพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน
โดยจะนำมาซึ่งการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานและผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง และเพื่อให้เกิดการดำเนินการอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด รองรับธุรกิจในเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่มีอยู่ทั่วโลก เครือฯ จึงได้พัฒนาเครื่องมือการตรวจประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อค้นหาโอกาสในการปรับปรุง และวางมาตรการจัดการเชิงรุกที่เป็นการผสานความร่วมมือระหว่างคู่ค้าธุรกิจและเครือเจริญโภคภัณฑ์
แนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ 5 ขั้นตอน
เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้พัฒนาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ 5 ขั้นตอน ตามกรอบการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบของ UN Global Compact โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ อันจะนำไปสู่การสร้างคุณค่าและความยั่งยืนในระยะยาวร่วมกันกับผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ 5 ขั้นตอน ที่พัฒนาขึ้นมานี้ เป็นแนวปฏิบัติที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ภาระรับผิดชอบ ที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ปลูกฝังและสร้างรากฐานความคิดให้กับคณะผู้บริหารและพนักงานของเครือฯ มาโดยตลอด
ในขณะเดียวกัน เครือฯ ยังได้บูรณาการประเด็นด้านความยั่งยืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งในทุกกิจกรรมของกระบวนการจัดหา โดยอ้างอิงตามแนวทางสากล อาทิ หลักปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Universal Declaration of Human Rights) หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) และแนวทางสากลที่เครือฯ ได้ร่วมเป็นสมาชิกในหลายโครงการความยั่งยืนระดับโลก ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะได้รับการทบทวนความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า กลยุทธ์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด รวมถึงการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบทั้งในระดับเครือฯ และระดับกลุ่มธุรกิจ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแล ควบคุม และติดตามการดำเนินการตามนโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานโดยตรงต่อคณะกรรมการด้านความยั่งยืน โดยมีประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ทำหน้าที่เป็นประธานของคณะกรรมการฯ ซึ่งผลการดำเนินงานจะถูกนำไปรายงานให้แก่คณะกรรมการบริษัทได้รับทราบและให้การอนุมัติสำหรับประเด็นที่มีความสำคัญ
เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้จัดให้มีการสื่อสารและอบรมจรรยาบรรณธุรกิจ นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน และองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการยกระดับขีดความสามารถของคู่ค้า ให้กับบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องใน Supplier ESG Program เช่น ผู้รับผิดชอบในการจัดหา คัดเลือก ตรวจสอบ และประเมินผล รวมถึง ผู้ทำโครงการต่าง ๆ กับคู่ค้า ซึ่งรูปแบบการสื่อสารที่เครือ ฯ เลือกใช้จะพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา และวัตถุประสงค์ตามแผนการสื่อสารและการอบรมที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ ยังมีช่องทางการให้คำปรึกษาเพื่อชี้แจงข้อสงสัยต่าง ๆ ซึ่งประเด็นหรือปัญหาที่ได้รับจะถูกนำไปใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการสื่อสารต่อไป นอกจากนี้ เครือฯ ยังมุ่งส่งเสริมให้คู่ค้าปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า แต่ทว่า ด้วยความหลากหลายของธุรกิจ ทำให้เครือฯ จำเป็นต้องกำหนดรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละธุรกิจ โดยได้จัดทำสื่อการเรียนรู้และประชาสัมพันธ์ครอบคลุม 3 ภาษาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน พร้อมทั้งทำการสื่อสารและอบรมให้กับคู่ค้าในหลากหลายช่องทาง ทั้งการอบรมแบบออนไลน์ แบบ Face to Face แบบผ่านแพลตฟอร์มคู่ค้า และแบบลงพื้นที่หน้างานของทีมส่งเสริมเพื่อทำการสื่อสารข้อกำหนดและความคาดหวังของเครือ ฯ ไปยังเกษตรกรคู่ค้าโดยตรง
การบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่จะส่งเสริมให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน การดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าที่มีความเสี่ยงอาจส่งผลกระทบต่อความต่อเนื่องของธุรกิจและชื่อเสียงขององค์กรได้ เครือเจริญโภคภัณฑ์จึงมุ่งเน้นการบริหารจัดการคู่ค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อลดความเสี่ยงด้าน ESG และผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของเครือฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ด้วยเกณฑ์ในมิติต่าง ๆ อาทิ คุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าและบริการ ความสามารถในการผลิตและการส่งมอบสินค้าและบริการ ความปลอดภัยของการขนส่ง การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบและข้อบังคับ การดูแลพนักงาน การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมและเพื่อเป็นการรองรับคู่ค้าที่มีอยู่ทั่วโลก เครือฯ ได้พัฒนาแพลตฟอร์ม 360 Supplier Due Diligence เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อมูลและการดำเนินการของคู่ค้าอย่างรอบด้าน ก่อนการตัดสินใจทำธุรกิจร่วมกัน เช่น ข้อมูลการก่อตั้งบริษัท ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลแสดงความเกี่ยวข้องกับนักการเมือง ข้อมูลการมีส่วนร่วมในการกระทำผิด ข้อมูลการสำรวจภาคสนาม และผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ซึ่ง คู่ค้าที่ได้รับผลการประเมิน “ผ่าน” เท่านั้น จึงจะทำธุรกิจร่วมกับเครือฯ ได้ นอกจากนี้ แพลตฟอร์ม 360 Supplier Due Diligence ยังเปิดโอกาสให้คู่ค้าสามารถทำการเทียบเคียงข้อมูลผลการดำเนินงานของคู่ค้ากับบริษัทอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดี่ยวกัน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมุ่งสู่การเป็นเลิศ
นอกจากนี้ เครือฯ ได้กำหนดนโยบายและระเบียบในการจัดซื้อจัดจ้างที่มีการกำหนดวงเงินหรืออำนาจอนุมัติในการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีประสิทธิภาพ และความโปร่งใส รวมถึงการปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเป็นธรรมโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งคู่ค้าที่ผ่านการคัดเลือกและได้ทำธุรกิจร่วมกับเครือ จะได้รับการสื่อสารเงื่อนไขหรือข้อตกลงในการทำธุรกิจอย่างครบถ้วน เสมอภาค และเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อตกลงด้านความยั่งยืน ซึ่งจะมีการแนบจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าเข้าเป็นข้อกำหนดส่วนหนึ่งในสัญญาข้อตกลง และมีการระบุข้อกำหนดเฉพาะด้านเพิ่มเติมสำหรับคู่ค้ารายที่มีความเสี่ยงสูงจากการประกอบกิจการ และปฏิบัติตามสัญญาที่ทำร่วมกับคู่ค้าอย่างเคร่งครัดพร้อมทั้งติดตามและประเมินการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
เครือฯ กำหนดให้มีการประเมินการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดในจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า และข้อกำหนดด้านความยั่งยืนสำหรับคู่ค้าอย่างสม่ำเสมอทุกปี ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ได้แก่
- แบบสอบถาม / แบบประเมินตนเอง
- การตรวจประเมินสถานประกอบการโดยผู้ตรวจสอบของเครือฯ
- การตรวจประเมินสถานประกอบการโดยผู้ตรวจสอบอิสระ
- การวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานของคู่ค้าจากการประเมินของผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ
เพื่อให้มั่นใจว่าการประเมินคู่ค้าเป็นไปตามหลักปฏิบัติที่ถูกต้องและสร้างคุณค่าให้กับคู่ค้า เครือฯ ได้พัฒนาแนวทางการประเมินความยั่งยืนของคู่ค้าซึ่งประกอบด้วยกระบวนการตรวจสอบและการวิเคราะห์ผลการตรวจสอบเพื่อการปรับปรุง แนวทางที่แนะนำนี้ ซึ่งรวมถึงมาตรฐาน ISO 19011 มาตรฐาน GRI (GRI 308 และ GRI 414) SASB UNGC และหลักการ PDCA จะได้รับการทบทวนทุกปีเพื่อความเหมาะสม นอกจากนี้ เครือฯ ยังจัดการบรรยายและการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างทักษะการตรวจสอบด้านความยั่งยืนสำหรับผู้ตรวจสอบ รวมถึงการสื่อสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนดต่าง ๆ ผลจากการประเมินผลการดำเนินงานและการตรวจสอบจะถูกใช้เป็นหนึ่งในปัจจัยพิจารณาสำหรับการจัดหาคู่ค้าในอนาคต
นอกเหนือจากการยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจของคู่ค้า เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ต่อยอดการพัฒนาไปสู่การปรับกระบวนทัศน์ที่คำนึงถึงมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประกอบกันอย่างสมดุล ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับประเภทและบริบทของคู่ค้าแต่ละกลุ่ม เช่น การลงพื้นที่เพื่อให้คำแนะนำเชิงลึก การตรวจเยี่ยมองค์กร การร่วมมือทำโครงการริเริ่มต่าง ๆ และการจัดอบรมโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่เครือฯ ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้จัดให้มีการมอบรางวัลแก่คู่ค้า เพื่อประกาศเกียรติคุณสำหรับคู่ค้าที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยม เป็นการสร้างแรงจูงใจและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคู่ค้ารายอื่น ๆ โดยการมอบรางวัลดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใส เป็นธรรมและเสมอภาค ที่เครือ ฯ ยึดปฏิบัติมาโดยตลอด และในทางกลับกัน กรณีที่พบคู่ค้าที่ปฏิเสธการมีส่วนร่วมใน Supplier ESG Program ทุกรูปแบบ หรือไม่มีการดำเนินงานตามแผนการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด เครือเจริญโภคภัณฑ์จะนำคู่ค้ารายนั้นเข้าสู่กระบวนการยกเลิกสัญญาอย่างเป็นธรรมต่อไป ทั้งนี้ หากคู่ค้าที่เคยถูกยกเลิกสัญญาไปแล้ว มีความประสงค์จะกลับเข้ามาทำธุรกิจร่วมกับเครืออีกครั้ง คู่ค้ารายด้งกล่าวต้องผ่านเกณฑ์การพิจารณาตามกระบวนการคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ตามที่เครือฯ ได้กำหนดไว้
การประเมินคู่ค้า
เครือเจริญโภคภัณฑ์มุ่งมั่นที่จะรักษาระดับความรับผิดชอบและความยั่งยืนสูงสุดในห่วงโซ่อุปทานของเรา การประเมินคู่ค้ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเครือฯ ในการรับประกันว่าพันธมิตรทางธุรกิจของเราทุกคนมีค่านิยมเดียวกันกับเครือฯ และมียึดมั่นในวัตถุประสงค์เเดียวกันในการสร้างความแตกต่างที่ดีให้แก่โลกของเรา เครือฯ ใช้ชุดเกณฑ์การประเมินคู่ค้าที่มความละเอียด ซึ่งรวมถึงการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และจริยธรรม เกณฑ์เหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มโอกาสของห่วงโซ่อุปทาน ความรับผิดชอบ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
เราดำเนินการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของคู่ค้าอย่างรอบคอบ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าพวกเขาจะมีความมุ่งมั่นในการรักษาสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับเครือฯ เราต้องการดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าที่มีความมุ่งมั่นในแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนและการดูแลสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การจัดการทรัพยากรและประสิทธิภาพพลังงาน ไปจนถึงการลดของเสียและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ผลกระทบด้านสังคม
เราให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีและการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างยุติธรรม เราทำการตรวจสอบอย่างรอบด้าน เพื่อตรวจสอบว่าคู่ค้าของเราปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติด้านแรงงานที่เป็นธรรม ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของพนักงาน และเคารพสิทธิมนุษยชน เราส่งเสริมความหลากหลายและการไม่แบ่งแยกในสถานที่ทำงานอย่างจริงจัง โดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่เคารพ ยอมรับ และปกป้องสิทธิของทุกคน
การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม
การดำเนินงานกับคู่ค้าของเราเป็นไปตามข้อกำหนดของการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เครือฯ ทำการวิเคราะห์คู่ค้ารายใหม่อย่างรอบด้าน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการดำเนินงานของคู่ค้าเป็นไปตามมาตรฐานด้านจริยธรรมสูงสุด นอกจากนี้ เครือฯ ยังได้คาดหวังให้คู่ค้าของเราดำเนนธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ และปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ความร่วมมือและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การประเมินคู่ค้าของเรา เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่ความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ใช่กิจกรรมที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ที่ผ่านมา เราทำงานร่วมกับคู่ค้า ผ่านการให้คำแนะนำและสนับสนุน เพื่อช่วยให้พวกเขาปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เราสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ทำให้คู่ค้ารู้สึกว่าได้รับแรงบรรดาลใจในการปรับปรุงโครงการด้านห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบ ซึ่งเราดำเนินงานผ่านการสื่อสารแบบเปิดและการทำงานร่วมกัน
ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ
สำหรับเครือฯ ความโปร่งใสเปรียบเสมือนการสร้างความเชื่อมั่นและความรับผิดชอบ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เครือฯ รักษาการติดต่อที่โปร่งใสและเปิดเผยกับคู่ค้าผ่านกระบวนการประเมินคู่ค้า ซึ่งได้รวมถึงการสื่อสารความคาดหวัง และข้อกำหนดของเครือฯ ให้คู่ค้าได้รับทราบ เครือฯ มุ่งดำเนินงานตามมาตรฐานระดับสูงเช่นเดียวกับที่เราคาดหวังให้คู่ค้าของเราดำเนินตาม
การสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวก
เครือฯ มีความตั้งใจที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่อุตสาหกรรมที่เราดำเนินการ โดยสร้างการมีส่วนร่วมกับคู่ค้าที่มีความรับผิดชอบ กระบวนการประเมินคู่ค้าของเราไม่เพียงแต่รับประกันการปฏิบัติตามกฎระเบียบเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกและส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน
นอกจากนี้ เครือฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีความรับผิดชอบ ผ่านการดำเนินงานด้านการประเมินคู่ค้า ซึ่งเราตระหนักดีว่าการร่วมมือกับองค์กรที่มีเป้าหมายด้านความยั่งยืนและหลักปฏิบัติด้านจริยธรรมที่เหมือนกัน เราจะสามารถร่วมกันสร้างอนาคตที่สดใสและยั่งยืนให้กับโลก
การให้ความสำคัญต่อประเด็นด้าน ESG
คู่ค้ารายใหม่และที่ดำเนินการอยู่จะต้องผ่านการประเมินเป็นประจำ ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้จัดให้มีเกณฑ์การประเมินที่มีความจำเพาะสำหรับคู่ค้ารายใหม่และที่ดำเนินการอยู่ สำหรับการประเมินคู่ค้ารายใหม่ ประเด็นด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ ราคา การขนส่ง และความยั่งยืนมีความสำคัญ
ซึ่งเครือฯ ได้มีการถ่วงน้ำหนักให้กับเกณฑ์แต่ละข้อเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดจะถูกส่งมายังเครือฯ ลูกค้าและผู้บริโภค เนื่องจากเครือฯ ให้ความสำคัญกับแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนและสนับสนุนให้คู่ค้าของเราทำเช่นเดียวกัน การถ่วงน้ำหนักสำหรับเกณฑ์ด้านความยั่งยืนจึงมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 30 ของคะแนนการประเมินทั้งหมด ในขณะเดียวกัน คู่ค้าที่มการดำเนินการอยู่จะต้องได้รับการประเมินทุกปี เพื่อตรวจสอบความสามารถและการปฏิบัติงานของตนโดยเทียบกับสัญญาและจรรยาบรรณธุรกิจของคู่ค้า การถ่วงน้ำหนักสำหรับเกณฑ์ความยั่งยืน เช่น การถ่วงน้ำหนักสำหรับการประเมินคู่ค้ารายใหม่มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 30 ของคะแนนการประเมินทั้งหมด
ผลการตรวจประเมิน และมาตรการจัดการความเสี่ยง
เครือเจริญโภคภัณฑ์มีห่วงโซ่อุปทานที่หลากหลายและมีความท้าทายสูง ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางด้านอุตสาหกรรม ดังนั้น การสร้างมาตรฐานการตรวจประเมินถือเป็นภารกิจสำคัญยิ่งที่เครือฯ จำเป็นต้องเร่งพัฒนาอย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุนี้ เครือฯ จึงได้จัดให้มีการอบรมหลักสูตร CAPACITY BUILDING PROGRAM - CPG Cooperated Sustainability
ซึ่งที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ร่วมมือกับบริษัทภายนอกที่เป็นอิสระทำการตรวจประเมินด้านความยั่งยืนกับคู่ค้าโดยอ้างอิงตามข้อกำหนดของจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าของเครือฯ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
สำหรับคู่ค้าที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยง หรือมีการดำเนินงานที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด เครือเจริญโภคภัณฑ์จะเข้าไปให้คำแนะนำเพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานให้เกิดความสอดคล้อง พร้อมทำการติดตามความคืบหน้าในการปรับปรุงแก้ไขความไม่สอดคล้องที่พบอย่างใกล้ชิดเพื่อลด บรรเทา และ ขจัดความเสี่ยงในทุกมิติ
ทั้งนี้ ผลที่ได้จากการประเมินจะนำไปเป็นข้อมูลประกอบส่วนหนึ่งในการประเมินผลการดำเนินงานประจำปีของคู่ค้าต่อไป สำหรับคู่ค้าที่ผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์จะไม่ได้รับการพิจารณาให้เข้าร่วมรับงานในอนาคต หรืออาจจะยกเลิกสัญญา
มิติ | ตัวอย่าง ประเด็นที่พบจากการตรวจประเมินด้านความยั่งยืน | |
---|---|---|
ประเด็นความเสี่ยง | มาตรการจัดการความเสี่ยง | |
มิติด้านสิ่งแวดล้อม |
การคัดแยกขยะอุตสาหกรรม และขยะทั่วไป | จัดทำ สื่อสาร ดำเนินการตามมาตรฐานการคัดแยกขยะอุตสาหกรรม และขยะทั่วไป |
การควบคุมมลพิษ | จัดทำแผนควบคุมมลพิษในด้านที่เกี่ยวข้องและติดตามตามช่วงเวลาที่เหมาะสม | |
มิติด้านสังคม |
สัญญาจ้างงาน | จัดทำสัญญาจ้างงานที่ระบุเงื่อนไขการทำงานและเป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยภาษาที่พนักงานเข้าใจ |
คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน, การเตือนอันตราย และการสื่อสารต่างๆ | จัดทำคู่มือ มาตรฐาน และการสื่สาร ด้วยภาษาที่พนักงานเข้าใจ | |
มิติด้านการกำกับดูแล |
การจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการและการประชุม | จัดตั้งคณะกรรมการฯ และดำเนินการประชุมทุก 3 เดือน |
การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิคขั้นสูง | ปฏิบัติตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ พ.ศ. 2565 |
การประเมินความเท่าเทียมทางเพศของคู่ค้า
ที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ เราเชื่อว่าการเพิ่มขีดความสามารถให้กับทุกเพศไม่ได้เป็นเพียงความจำเป็นทางศีลธรรม แต่ยังเป็นความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ ด้วยการบูรณาการการประเมินความเท่าเทียมทางเพศเข้ากับการจัดการห่วงโซ่อุปทานของเรา เราคาดหวังที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชีวิตของพนักงาน คู่ค้า และชุมชนของเรา ขณะเดียวกันก็มีส่วนร่วมในการสร้างโลกที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังและที่มีความยั่งยืน
ผลการประเมินที่รวมประเด็นด้าน ESG, ความเท่าเทียมทางเพศ และการดำเนินงานตามข้อกำหนด
ตัวอย่างความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประเมินด้านความยั่งยืน |
|
---|---|
ประเด็นความเสี่ยง |
แนวทางการจัดการ |
มิติด้านสิ่งแวดล้อม | |
การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม | จัดทำกระบวนการระบุประเด็นและผลกระทบรวมถึงการกำหนดมาตรการ |
การควบคุมมลพิษ | จัดทำแผนควบคุมมลพิษในด้านที่เกี่ยวข้องและติดตามตามช่วงเวลาที่เหมาะสม |
การจัดการบำบัดน้ำเสียตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม | แจ้งการจดทะเบียนต่อกระทรวงอุตสาหกรรมและการขออนุญาตตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม |
มิติด้านสังคม | |
สัญญาการจ้างงาน | จัดทำสัญญาจ้างงานเป็นลายลักษณ์อักษรในภาษาที่พนักงานสามารถเข้าใจได้ |
การตรวจสุขภาพพนักงานตามปัจจัยเสี่ยง | กำหนดแนวทางการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงและตรวจสุขภาพพนักงาน |
การลงทะเบียนบุคลากรที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัย อาชีวอนมัย และสิ่งแวดล้อมในระดับบริหาร ระดับหัวหน้างาน ฯลฯ | แต่งตั้งบุคลากรระดับต่าง ๆ และฝึกอบรมก่อนแจ้งขึ้นทะเบียนกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน |
มิติด้านการกำกับดูแล | |
การจัดอบรมตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น การดับเพลิง การฝึกซ้อมดับเพลิง และสารเคมีรั่วไหล | จัดทำแผนการฝึกอบรมประจำปีและจัดทำรายงานสรุปการฝึกอบรม |
แก้ไขการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ | แต่งตั้งผู้รับผิดชอบและจัดทำทะเบียนกฎหมายและทบทวนการเปลี่ยนแปลงกฎหมายต่าง ๆ |
การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล | กำหนดโครงสร้างและกระบวนการที่เป็นระบบพร้อมสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมด |