กระบวนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนเกี่ยวข้องกับการประเมินและกำหนดประเด็นสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียของเครือเจริญโภคภัณฑ์

กระบวนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของเครือฯ เริ่มต้นด้วยการระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนเบื้องต้น จากนั้นตามด้วยการระบุผลกระทบ ความเสี่ยง และโอกาส การประเมินผลกระทบประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนโดยผู้มีส่วนได้เสีย และสิ้นสุดด้วยการจัดลำดับประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญต่อเครือฯ และผู้มีส่วนได้เสีย กระบวนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนไม่เพียงแค่นำแนวทางของกรอบการรายงานระหว่างประเทศ เช่น GRI Standards 2021 แต่ยังรวมถึงความคิดเห็นที่ได้รับจากการปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญภายนอก นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของกระบวนการและผลลัพธ์ของการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน เครือฯ ได้ว่าจ้างบุคคลที่สามที่เป็นอิสระเพื่อดำเนินการตรวจสอบกระบวนการและผลลัพธ์

กระบวนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

การทบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

การทบทวนนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรวมข้อมูลใหม่ ๆ และสะท้อนถึงการพัฒนาล่าสุดในบริบทด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ การปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญภายในและภายนอก ช่วยสร้างความมั่นใจให้เครือเจริญโภคภัณฑ์ว่ารายการประเด็นที่เป็นสาระสำคัญของเรายังคงทันสมัยและมีทิศทางที่เน้นไปข้างหน้า

Heart:

Living Right

  • การกำกับดูแลกิจการ
  • แรงงานเด็ก
  • แรงงานบังคับ
  • สิทธิในที่ดิน
  • ความหลากหลายและความเท่าเทียม
  • การปฏิบัติด้านแรงงาน
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • การศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีพ
  • การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  • การตลาดที่มีความรับผิดชอบ และการจัดการลูกค้า
  • ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการปกป้องข้อมูล

Health:

Living Well

  • สุขภาพและโภชนาการ
  • การมีส่วนร่วมและการบูรณาการทางสังคมและชุมชน
  • การดำเนินธุรกิจอย่างมีส่วนร่วม
  • ความเพียงพอของอาหาร
  • การบริหารจัดการนวัตกรรม และเทคโนโลยี
  • ความผูกพันของผู้มีส่วนได้เสีย

Home:

Living Together

  • การปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • การบริหารจัดการ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการของเสียและเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
  • การปกป้องและการฟื้นฟูธรรมชาติ
  • การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ

การระบุผลกระทบ ความเสี่ยง และโอกาส

เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ดำเนินการศึกษา และวิเคราะห์ผลกระทบ ความเสี่ยง และโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของเครือฯ เพื่อให้การวิเคราะห์ผลกระทบ ความเสี่ยง และโอกาสเป็นไปอย่างครอบคลุม เครือฯ ตรวจสอบการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า ผลิตภัณฑ์/บริการ และขั้นตอนการใช้งานของผู้บริโภคและลูกค้าของเราอย่างละเอียดถี่ถ้วน นอกจากนี้ เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล การวิเคราะห์ได้คำนึงถึงผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม มากไปกว่านี้ เครือฯ ได้นำแนวทางการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Double และ Dynamic มาประยุกต์ใช้ ซึ่งช่วยให้เครือฯ มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับประเด็นด้านความยั่งยืนและเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นตามสถานการณ์และช่วงเวลา

Double Materiality

การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนแบบ Double Materiality คือการประเมินผลกระทบภายนอกต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม และผลกระทบภายในที่มีต่อมูลค่าองค์กร การมองอย่างรอบด้านนี้ ทำให้เครือฯ รู้จักบทบาทและความรับผิดชอบของเครือฯ ในการจัดการกับข้อกังวลด้านความยั่งยืนได้อย่างรอบครอบ เครือฯ ได้ระบุข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่จับต้องได้และมีความสำคัญต่อความยั่งยืนและการสร้างมูลค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว โดยการตรวจสอบผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากการดำเนินงานของเครือฯ ห่วงโซ่อุปทาน และผลิตภัณฑ์/บริการของเราที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียและสิ่งแวดล้อม

Dynamic Materiality

การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนแบบ Dynamic Materiality คือแนวทางการประเมินที่ตระหนักว่าปัญหา ESG และข้อกังวลของผู้มีส่วนได้เสียแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาอันเป็นผลมาจากแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น กฎหมายที่เปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ของบริษัท เครือฯ สามารถระบุข้อกังวล ความคาดหวัง และแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นโดยการติดตามอย่างสม่ำเสมอและการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย เช่น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า นักลงทุน และชุมชน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนนั้นเป็นปัจจุบัน และมีความเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อม เครือฯ ติดตามการพัฒนาเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ

การประเมินผลกระทบของประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนโดยผู้มีส่วนได้เสีย

เพื่อเป็นการตระหนักถึงคุณค่าของมุมมองของผู้มีส่วนได้เสีย เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลาย ซึ่งการสำรวจ การสัมภาษณ์ และการสนทนากับกลุ่มย่อยทำให้เครือฯ ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของแต่ละประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่มีต่อผู้คน นอกจากนี้ ข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยให้เครือฯ เข้าใจต่อผลกระทบของความท้าทายที่เป็นสาระสำคัญของเรา และเพื่อให้การประเมินของเราครอบคลุมในทุกด้าน

การจัดลำดับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญต่อเครือฯ และผู้มีส่วนได้เสีย

ขั้นตอนสุดท้ายเกี่ยวข้องกับการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์และผู้มีส่วนได้เสีย โดยกระบวนการจัดลำดับความสำคัญนี้ช่วยให้เครือฯ สามารถระบุประเด็นที่มีความสำคัญที่ต้องการการจัดการเชิงกลยุทธ์และการจัดสรรทรัพยากร ผลการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนได้ถูกบูรณาการเข้ากับการบริหารความเสี่ยงองค์กร (ERM) ของเครือฯ เพื่อให้มั่นใจว่าเครือฯ มีการจัดการประเด็นเหล่านี้อย่างเป็นระบบภายในกระบวนการบริหารความเสี่ยงของเรา

ประเด็นด้านความยั่งยืนมีนัยสำคัญต่อเครือฯ และผู้มีส่วนได้เสีย